ธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน
"แดด" และ "ลม" จัดเป็นของขวัญชิ้นพิเศษที่ธรรมชาติมอบฝห้กับมนุษย์ เพื่อใช้ปั้นแต่งเพิ่มพูนอรรถประโยชน์ที่ดิน บ้านและอาคารประเภทต่างๆ หากอสังหาริมทรัพย์ใดมีตำแหน่งที่ตั้งดี หรือถูกพัฒนาออกแบบโดยคำนึงถึงธรรมชาติแดดและลมในพื้นที่อย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้มูลค่าโดนเด่นขึ้นได้อย่างเด่นชัด อย่างไรก็ดีการประยุกต์ใช้ประโยชน์แดดและลมจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติแดดและลมในส่วนของตัวเจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ามีมากน้อยเพียงใดด้วย ในเมืองไทยเราเรื่องแดดลมที่พึงต้องให้ความสนใจและระมัดระวังมากสุดก็คือทิศทางตะวันขึ้น-ลง และทิศทางลมในช่วงฤดูร้อน ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากประเทศเราอยู่ในเขตร้อน สภาพอากาศจะร้อนอบอ้าวมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อนแถมยังเป็นประเทศที่มีฤดูร้อนยาวนานกว่าประเทศอื่นๆ ด้วย ทางโคจรและธรรมชาติของ "แสงแดด" คนทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดว่าอิทธิพลของแดดที่มีต่อบ้านหรืออาคารจะมาจากทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นหลัก เนื่องจากถูกพร่ำสอนมาแต่เด็กว่าดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในช่วงเช้า และต้องตกทางทิศตะวันตกในช่วงเย็นซึ่งจริงๆ แล้วทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์หาเป็นเช่นนั้นไม่ การขึ้นลงใน 1 ปีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็เบ้ไปทางทิศเหนือบ้าง และบางครั้งก็เอียงไปทางทิศใต้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะประเทศไทยเราตั้งอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรค่อนมาทางซีกโลกเหนือจึงทำให้แสงแดดทำมุมเฉียงมาจากทางทิศทางใต้มากกว่า ยังผลให้พื้นที่ในประเทศได้รับอิทธิพลของแสงแดดที่ส่องมาจากทิศใต้มากกว่าแสงแดดที่ส่องมาจากทิศเหนือ อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือทิศแดดของบ้านเราหากแยกออกตามช่วงเวลาจะมีอยู่ 2 ทิศด้วยกันทิศแรก คือดวงอาทิตย์โคจรอ้อมไปทางทิศเหนือ ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม กินเวลาประมาณ 3-4 เดือน ทิศที่สองคือดวงอาทิตย์โคจรอ้อมไปทางทิศใต้ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนเรื่อยไปจนกระทั่งถึงเดือรเมษานร กินเวลานานประมาณ 8-9 เดือน ด้วยเงื่อนไขทิศแดดตามช่วงเวลานี้เอง แสงแดดจากทางทิศใต้จึงกลายเป็นแดดที่มีอิทธิพลต่อที่อยู่อาศัยของประชาชนในบ้านเรามากที่สุด เนื่องจากเป็นเป็นทิศแดดที่เกิดขึ้นคร่อมในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะเดือนเมษายนซึ่งร้อนหนักสุด เป็นแสงแดดที่ส่องทำมุมค่อนข้างต่ำแถมยังส่องอยู่เป็นระยะเวลานานด้วย ทิศทางและธรรมชาติของ "ลม" ในส่วนธรรมชาติของ "ลม" บ้างด้วยเหตุที่ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อยู่ในเขตร้อน พื้นที่จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมหรือลมประจำฤดูที่มีทิศทางการพัดตามฤดูกาลค่อนข้างแน่นอน โดยจะมีลมประจำถิ่นอยู่ 2 ทิศทางหลักๆ เช่นเดียวกับทิศของแสงตะวัน กล่าวคือลมประจำถิ่นช่วงฤดูหนาวพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ กินเวลานานประมาณ 3-4 เดือน และลมประจำช่วงฤดูร้อนพัดกลับจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือทิศใต้ ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกินเวลาช่วงที่เหลือตั้งแต่มีนาคมจนกระทั่งถึงตุลาคม กินเวลานานประมาณ 8-9 เดือน เคล็ดลับประยุกต์ใช้ประโยชน์จากแดดและลม จากธรรมชาติของทิศแดด และลมในบ้านเราดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในแง่ของการลงทุนจึงควรต้องพยายามออกแบบและปรับปรุงตัวอสังหาฯ หาทางใช้ประโยชน์เอาแดดลมมาช่วยเพิ่มพูนคุณค่าอสังหาฯ ที่ถือครองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับวิธีประยุกต์ใช้ประโยชน์แดดลมตามหลักสากลสามารถทำได้ง่ายๆ ตามคำแนะนำ 5 ข้อ ดังนี้ 1.จัดแปลนบ้านให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผผืนผ้ามากที่สุด พยายามให้มีสัดส่วนกว้าง : ความยาว ประมาณ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ยอมรับกันว่าสามารถรับลมและหลบแดดได้ดีที่สุด โดยหันด้านยาวของบ้านไปในแนวทิศเหนือ-ใต้เพื่อหลบแสงตะวัน ซึ่งช่วยให้ลมพัดเข้าบ้านได้ดีในฤดูร้อน และให้เอาด้านแคบของบ้านหันให้อยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ผนังของบ้านเราถูกแดดน้อยที่สุด โดยในทิศนี้ควรจัดให้มีหน้าต่างน้อยสุด 2.เน้นเลือกบ้านหรือคอนโดที่หันไปทางทิศเหนือ ทิศนี้ว่ากันจะดีกว่าทิศใต้เพราะร้อนน้อยกว่า เนื่องจากแดดบ้านเราจะอ้อมมาทางทิศใต้เป็นหลัก เทียบกับทิศเหนือที่ตลอดทั้งปีจะแทบไม่ได้รับแดดเลย 3.จัดแยกห้องใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับทิศแดดและทิศลม ตัวอย่างเช่น ห้องนั่งเล่นซึ่งเป็นห้องที่มักจะใช้เวลาอยู่ครั้งละนานๆ ในเวลากลางวันก็ควรจัดให้อยู่ในทิศเหนือ ห้องครัวควรหันหน้ารับลมด้วยเพื่อการระบายกลิ่นและควันได้ดี เช่น จัดให้อยู่ทางทิศใต้ แต่ต้องระวังไม่ให้ลมพัดจากห้องครัว พากลิ่นไปสู่ห้องอื่นๆภายในบ้าน 4.บังคับทิศทางลมด้วยการเจาะช่องหน้าต่าง หรือช่องลมในอาคาร อาศัยหลักคิดที่ว่า "มีทางเข้าจะต้องมีทางออกด้วยลมถึงจะเข้ามาได้" หากห้องใดมีเฉพาะช่องรับลมเพียงด้านเดียวจะไม่มีลมใดๆ เข้ามาเลย 5.จัดการระดับความแรงของลมสามารถทำได้ง่ายๆ เช่นกัน โดยยึดหลักหากต้องการห้องที่รับลมเต็มที่และสม่ำเสมอ เช่นห้องนั่งเล่น หรือห้องรับประทานอาหาร ให้เปิดช่องลมทางเข้าให้มีขนาดเท่ากับทางออก แต่หากต้องการได้ลมเอื่อยและช้าๆ ก็ให้เปิดทางลมเข้าให้ใหญ่กว่าทางลมออก ในทางกลับกันหากต้องการให้ลมเข้าห้องพัดแรงขึ้น ก็ทำได้ด้วยการเปิดช่องทางลมเข้าให้แคบกว่าช่องทางลมออก
แบบบ้าน รีโนเวท ตกแต่งภายใน จบที่เดียว
ศูนย์รวมธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน แบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้านโมเดิร์น ออกแบบบ้านออนไลน์ สถาปนิกรับออกแบบบ้าน รับออกแบบบ้านฟรี ออกแบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้าน 2 ชั้น รีโนเวทบ้าน รับเหมาก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน pantip 2017 รีโนเวทบ้านไม้เก่า รีโนเวทบ้านสองชั้น รีโนเวทบ้านเก่า ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน งบ 2 แสน รีโนเวทบ้านไม้สองชั้น