ธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่อาศัยการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นสำคัญ เน้นการจ้างงานช่างฝีมือภายในประเทศ และประมาณร้อยละ 90 เป็นผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่ทำการผลิตเพื่อส่งออก วัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย คือ ไม้ยางพาราจึงเกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการเกษตรด้วยประเทศไทย ถือว่าเป็นผู้ปลูกยางพารามากที่สุดในโลก และมีการนำไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์ อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องของไม้ยางพาราเกิดขึ้นในประเทศเป็นจำนวนมาก ตลาดส่งออกที่สำคัญของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกกลับมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าหลัก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เป็นแรงกดดันกระทบโดยตรง ซึ่งก็คือคู่แข่งอย่างเวียดนาม จีน และมาเลเซียที่หันมาสนใจการส่งออกเฟอร์นิเจอร์อย่างจริงจังโดยมีรัฐบาลให้การสนับสนุนและมีการทำการตลาดเชิงรุก แต่คาดว่าแนวโน้มการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยในปี 2556 ที่แม้จะยังเผชิญความท้ายทายจากความซบเซาของตลาดในประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าส่งออกไทยมีราคาสูงขึ้น แต่การส่งออกจะมีโอกาสเติบโต 0-3% ในตลาดอาเซียน และประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น BRICS ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ที่จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนแนวโน้มการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนของไทยในปีนี้ และปีต่อๆ ไป แม้ว่าในปัจจุบันไทยยังส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนไปขายยังกลุ่มประเทศดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนที่น้อย (ประมาณร้อยละ 20) แต่จากช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนของไทยในทั้ง 2 กลุ่มประเทศ เพิ่มเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งจีนที่นอกจากจะเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของไทยแล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพด้วย โดยการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนของไทยในปี 2556 จะมีมูลค่าประมาณ 1,143-1,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 0-3 (YoY) จากปี 2555 ที่มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และญี่ปุ่นน่าจะยังเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และท่ามกลางแรงกดดันจากปัจจัยด้านต้นทุน และค่าเงิน ผู้ประกอบการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนของไทยยังคงต้องปรับตัวด้วยการเพิ่มศักยภาพในการผลิต และเริ่มมองหาตลาดศักยภาพใหม่เพื่อให้อยู่รอดภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับตัวของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินเยนมีผลต่อคำสั่งซื้อจากญี่ปุ่น ทั้งนี้ทั้งนั้น มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนของไทยไปยังญี่ปุ่นอาจจะยังสามารถรักษาอัตราการขยายตัวไว้ที่ร้อยละ 1.5 (YoY) ได้ จากการที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และประโยชน์ใช้สอยของสินค้ามากกว่าราคา ตอบโจทย์ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่มีคุณภาพ ประณีต และได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดญี่ปุ่น ขณะที่คู่แข่งหลักอย่างจีนมีข้อด้อยในประเด็นนี้เพราะไม้ยางพารายังมีจำนวนน้อยมากและต้องนำเข้า นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรติดตามประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เงื่อนไข และนโยบายของประเทศคู่ค้า นวัตกรรมใหม่ๆ หรือ Mega Trend ที่อาจมีผลต่อการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือรูปแบบการผลิตที่เน้นการรักษาสุขภาพ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกระแสที่ตลาดกำลังให้ความสำคัญในขณะนี้ด้วย
แบบบ้าน รีโนเวท ตกแต่งภายใน จบที่เดียว
ศูนย์รวมธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน แบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้านโมเดิร์น ออกแบบบ้านออนไลน์ สถาปนิกรับออกแบบบ้าน รับออกแบบบ้านฟรี ออกแบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้าน 2 ชั้น รีโนเวทบ้าน รับเหมาก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน pantip 2017 รีโนเวทบ้านไม้เก่า รีโนเวทบ้านสองชั้น รีโนเวทบ้านเก่า ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน งบ 2 แสน รีโนเวทบ้านไม้สองชั้น