ธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน
วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อพีวีซี, สี และเคมีภัณฑ์, กระเบื้องปูพื้น-ผนัง, ฝ้าผนัง-เพดาน เป็นต้นลูกค้าหลักของร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งรายใหญ่และรายย่อยซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อเป็นประจำครั้งละมากๆ(ซื้อส่ง) ปัจจัยในการเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง ทำเลที่ตั้งและตัวร้าน ควรมีสถานที่กว้างขวางเพราะจะต้องมี ทั้งส่วนที่มีหลังคาสำหรับวัสดุประเภทสี ท่อ พีวีซี และส่วนเปิดโล่งสำหรับวัสดุพวกหิน ทราย และต้องมีพื้นที่จอดรถสำหรับส่งของ และลูกค้าด้วย ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างไม่ จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำให้ช่วย ประหยัดเงินทุนและค่าใช้จ่าย (ค่าไฟฟ้า) ได้ แต่ควรจัดวางสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่อย่าง เป็นระเบียบ และรักษาความสะอาดของร้าน ให้ดีด้วย สินค้า สินค้าวัสดุก่อสร้างมียี่ห้อและรูปแบบ หลากหลาย เช่น สินค้าปูนซีเมนต์สามารถ แยกย่อยได้หลายประเภทตามความต้องการ ในการใช้งานที่แตกต่างกัน หากร้านของเรามี วัสดุก่อสร้างให้เลือกน้อย ลูกค้าก็อาจตัดสินใจ ไปเข้าร้านอื่นที่ใหญ่กว่า มีตัวเลือกมากกว่า แต่ถ้าต้องการทำร้านขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้อง ใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย เงินลงทุนเริ่มแรก ธุรกิจนี้ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกสูง ทั้ง จากต้นทุนค่าซื้อสินค้าที่มียี่ห้อและรูปแบบ เป็นจำนวนมาก ค่าเครื่องไม้เครื่องมือ และ ค่ารถส่งของ นอกจากนี้ในช่วงเริ่มต้นกิจการ เรามักต้องซื้อสินค้าเป็นเงินสด ทำให้เงินลงทุน จะจมลงไปในตอนแรก ในขณะที่ยังไม่แน่ใจ ว่ากิจการจะไปได้ด้วยดีหรือไม่ ดังนั้น เงินที่ใช้ ลงทุนควรเป็นเงินส่วนตัวของเจ้าของที่ไม่ได้ มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องอื่น ๆ (หรือที่เรียก ว่า “เงินเย็น” นั่นเอง) การบริการ ร้านขายวัสดุก่อสร้างควรมีบริการขนส่ง สินค้าให้ลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะแข่งขัน กับร้านอื่นได้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า เนื่องจากกลุ่มผู้รับเหมาจะเป็นลูกค้า ประจำที่ซื้อสินค้าสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบ ควรมีความซื่อสัตย์และรักษาความสัมพันธ์ กับลูกค้าให้ดี ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เราควรมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง ประเภทต่างๆ พอสมควร เพื่อให้ลูกค้ามีความ มั่นใจในร้านมากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกค้าหลักซึ่งเป็น ผู้รับเหมาก่อสร้างจะมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ ก่อสร้างเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ระบบการบริหารจัดการร้าน ผู้ประกอบการควรมีระบบคลังสินค้าและ ระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบ คลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็นต้อง สั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และในปริมาณเท่าใด ส่วน ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้กำไร หรือขาดทุนเท่าใด ทั้งนี้ เราอาจจะทำเป็นสมุดรายงานหรือ สมุดบัญชีด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายทั่วไปหรือเปิดให้ดาวน์โหลดได้ ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ตัวอย่างของโปรแกรมที่ได้ รับนิยม ได้แก่ อีซี่ พีโอเอส(Easy POS) เอ็กซ์เพรส พีโอเอส(Express POS) เป็นต้น เมื่อเริ่มธุรกิจ เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย การเตรียมเปิดร้าน ในขั้นตอนการเตรียมธุรกิจร้านขายวัสดุ ก่อสร้าง เราต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษี ดังนี้ การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการเปิดร้าน > เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้ > ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย ภาษีศุลกากร หากเรามีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ > เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธี การศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรก เท่านั้น > ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษา เรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละ ประเภทของสินค้าที่เรานำเข้ามาด้วย การจ้างลูกจ้าง ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ การจัดหาสถานที่ตั้ง สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ เริ่มจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เราก็ต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องการเสียภาษี ด้วยเช่นกัน เราสามารถจำหน่ายวัสดุก่อสร้างทั้งใน ประเทศและจำหน่ายเพื่อการส่งออกซึ่งมีราย ละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้ การจำหน่ายในประเทศ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่ > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี ภาษีมูลค่าเพิ่ม > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การส่งออกสินค้าเพื่อการจำหน่าย ต่างประเทศ นอกจากที่เราจะเสียภาษีจากเงินรายได้ ที่จำหน่ายสินค้าภายในประเทศแล้ว หากเรา ต้องการจะจำหน่ายเพื่อการส่งออก เราก็ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 และยื่นใบขน ของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้ เอกสาร (Paperless) เพื่อเสียอากรขาออก ตามที่กฎหมายกำหนด
แบบบ้าน รีโนเวท ตกแต่งภายใน จบที่เดียว
ศูนย์รวมธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน แบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้านโมเดิร์น ออกแบบบ้านออนไลน์ สถาปนิกรับออกแบบบ้าน รับออกแบบบ้านฟรี ออกแบบบ้านชั้นเดียว ออกแบบบ้าน 2 ชั้น รีโนเวทบ้าน รับเหมาก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน pantip 2017 รีโนเวทบ้านไม้เก่า รีโนเวทบ้านสองชั้น รีโนเวทบ้านเก่า ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน ราคาประหยัด รีโนเวทบ้าน งบ 2 แสน รีโนเวทบ้านไม้สองชั้น